สรุปเนื้อหาภาษาไทย ม.4-ม.6 เป็นการสรุปเนื้อหาภาษาไทยเพื่อแก้บนครับพี่น้อง ฮิ้วๆ จะบนทั้งทีก็ต้องให้มันเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์ชาติซะหน่อย บนไว้ว่าถ้าติดโควตามช.ละจามาสรุปเนื้อหาภาษาไทยม.4-ม.6 ลงเว็บ เอาเป็นเนื้อหาที่สำคัญๆละกันเน้อ ณ.เวลานี้ก็ได้ฤกษ์อันสมควรแล้ว จะปฏิบัติการณ.บัดนี้คร๊าบบบบบบบบบบบ!!
ม.4
ภาษา
-ภาษาที่เราใช้โดยทั่วไปก็จะมีภาษามาตรฐานอยู่ด้วย ภาษามาตรฐานก็จะเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ จะ
ทำให้เราติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วทันใจ
-ภาษามีเสียง มีคำ และมีประโยค
-วลีไม่ต้องมีความหมาย แต่คำ และประโยค มีความหมายนะจ๊ะ
-ภาษามี 2 ประเภท คือ อวัจนภาษา และ วัจนภาษา
-อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้คำพูด) : สัญญาณไฟ รหัส ท่าทาง ดนตรี เป็นต้น
-วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้คำพูด)
-ภาษาตาย คือ ภาษาที่ไม่ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว จะไม่เปลี่ยนแปลงอีก เช่น ภาษาละติน ภาษาบาลี เป็นต้น ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย
-มีตัวอักษรเป็นของตัวเอง : ประดิษฐ์โดยพ่อขุนรามคำแหง โดยนำอิทธิพลมาจากอักษรขอมและอักษรมอญ
-แบ่งได้ 3 ชนิด คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์
-ภาษาไทยสะกดตรงตามมาตรา (สำคัญๆ เอาไว้เปรียบเทียบกับคำภาษาต่างประเทศน๊า!!)
การอ่านวรรณกรรม
-การวิเคราะห์ : ต้องใช้ข้อมูลประกอบที่น่าเชื่อถือ ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
-การแสดงความคิดเห็น : ได้มาจากการวิเคราะห์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเอง โดยผ่านการสำรวจปัญหา
ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดแล้ว
-การวิจารณ์ : การพิจารณา วิเคราะห์แยกองค์ประกอบต่างๆ แล้วนำมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แล้วจึงวินิจฉัย
ประเมินคุณค่าด้วยเหตุผล และหลักทฤษฎี บทร้อยกรอง
-คำครุ-คำลหุ
คำครุ มี 3 ลักษณะ
1. ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก.กา
2. มีตัวสะกด
3. ประสมด้วย ไอ ใอ เอา
คำลหุ มี 2 ลักษณะ
1. ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา
2. ประสมด้วยสระ อำ
-คำเป็น-คำตาย : ลักษณะบังคับที่ใช้ในการแต่งโคลง ร่าย และกลบท
คำเป็นมี 3 ลักษณะ
1. ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก.กา
2. มีมาตราตัวสะกด แม่กง กน กม เกย เกอว
3. ประสมด้วยสระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา
คำตายมี 2 ลักษณะ
1. คำที่ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา
2. มีตัวสะกดในมาตราแม่ กก กด กบ
ประเภทบทร้อยกรอง
-โคลงสี่สุภาพ
*บังคับเอก 7 โท 4
*1 บทมี 4 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรคหน้า 5 วรรคหลัง 2
-โคลงสามสุภาพ
*1 บทมี 2 บาท มี 4 วรรค วรรค 1-3 มีวรรคละ 5 คำ วรรคสุดท้ายมี 4 คำ
*บังคับเอก 3 โท 3
-โคลงสองสุภาพ
*1 บทมี 2 บาท มี 3 วรรค วรรค1, 2 มีวรรคละ 5 คำ วรรคสุดท้ายมี 4 คำ
*บังคับเอก 3 โท 3
การวิจักษณ์วรรณคดี
-บรรยายโวหาร : เห็นภาพตามลำดับเหตุการณ์
-พรรณนาโวหาร : ใส่อารมณ์ ความรู้สึก
-เทศนาโวหาร : กล่าวสั่งสอนอย่างมีเหตุผลประกอบ
-สาธกโวหาร : มีการยกตัวอย่าง
-อุปมาโวหาร : เปรียบเทียบ
-เปรียบเทียบโดยใช้คำตัดกัน
-ซ้ำคำ
-โวหารสัญลักษณ์ : ใช้คำที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ต้องการกล่าว
-โวหารอุปลักษณ์ : เปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
-โวหารบุคคลวัต : ทำสิ่งไม่มีชีวิตให้มีชีวิต
-โวหารอธิพจน์ : กล่าวเกินจริง
-โวหารสัทพจน์ : เลียนเสียง
-นาฏการ : เห็นภาพเคลื่อนไหว